grade
Holistic Learning Main อยากได้เกรด 4 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

อยากได้เกรด 4 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

grade

       ใครรู้สึกที่กำลังท้อใจและท้อแท้กับเกรดเทอมที่ผ่านมาอันแสนน้อยนิดเหลือเกิน หรือเกรดยังไม่ดีเท่าตามใจเราหวัง ลองมาตั้งใจใหม่กันอีกครั้ง ลองมาพยายามกันใหม่ กับ 6 วิธี ให้ได้เกรดดีในเทอมต่อไป

  1. “เป้าหมาย” เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะอยู่วัยทำงาน วัยเรียน หรือวัยไหน เป้าหมายก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้เราตั้งใจและเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างสวยงาม โดยเป้าหมายจะต้องไม่กดดันเรามากเกินไปด้วยนะ เช่น น้องๆ ลองตั้งไว้ว่า เทอมหน้าต้องการ เกรด 3.00 ขึ้นไป หรืออยากจะได้เป็น 1 ใน 5 ของห้องเรียน
  2. “ลดแรงกดดัน” ผลักดันกับกดดัน มันค่อนข้างต่างกันนะ เราลองลดแรงกดดันแล้วเริ่มแรงผลักดัน เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีความสุข เช่น คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ไม่ดีพอในครั้งนี้ อย่าเพิ่งกดดันตนเอง ลองหาแรงบันดาลใจ เช่นการดู series เกี่ยวกับการเรียนสักเรื่อง ที่ทำให้เรารู้สึกอยากเป็นแบบตัวละคร แล้วค่อยๆ หาวิธีที่ทำให้เราจะได้คะแนนสอบในครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม
  3. “เตรียมอุปกรณ์” หลายๆ คน มักชอบเดินหาอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ ที่มีความน่ารัก สดใส หรือสไตล์มินิมอลสุดคูล แบบไหนก็ได้ ที่ทำให้เรารู้สึกอยากจด อยากเขียน อยากบันทึกอะไรลงไป แล้วลองเรียนรู้จากแหล่งใหม่ๆ เช่น เทอมที่แล้วเกรดภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีเลย ลองหาภาพยนตร์ต่างชาติที่เป็นซับไตเติลดูสักเรื่อง แล้วจดบันทึกคำศัพท์ใหม่ๆ หรือรูปประโยคที่น่าสนใจ ด้ายเครื่องเขียนที่เราชื่นชอบ รับรองทั้งสนุกทั้งได้ความรู้
  4. “Studygram” เป็นไดอารี่ที่ใช้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเรียน การอ่านหนังสือ การทำข้อสอบ ของตัวเองที่ทันสมัย และเหมาสำหรับคนที่ไม่ชอบเขียนเป็นอย่างมาก โดย studygram เป็นการบันทึกในแอพพลิเคชั่น Instagram  ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปหนังสือที่เราอ่าน ถ่ายความคืบหน้าของงาน การบ้านที่ได้รับมอบหมาย หรือแม้กระทั่งการหาแรงบันดาลใจผ่าน แฮชแท็ก #studygram ที่มีคนสนใจและทำเพื่อกระตุ้นให้เราตั้งใจมากยิ่งขึ้น
  5. “แบ่งเวลา” แน่นอนว่า ถ้าหากเรามุ่งมั่นมันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าอะไรที่มันมากเกินไปอาจทำให้เราไม่มีความสุข และทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจได้ง่ายๆ แล้วสุดท้ายเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1 ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังนั้น เราลองมาจัดสรรปันส่วนให้มันสมดุลกัน ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เช่น เลิกเรียนแล้วให้เวลากับตัวเองได้พักผ่อนเล่นโทรศัพท์คู่ใจสัก 1-2 ชั่วโมง หรือออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ แถวบ้านสักหน่อยแล้วกลับมาทำการบ้านและอ่านหนังสือ สุดท้ายก็ค่อยอาบน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะ
  6. “ประเมินตนเอง” หากน้องๆ ได้ลองทำตั้งแต่ข้อที่ 1 จนถึงข้อที่ 5 แล้ว ลองประเมินตัวเองสักหน่อยว่าที่ทำมานั้นเรามีความสุขกับการเรียน ไม่เครียด และค่อยๆเขยิบเข้าใกล้เป้าหมายทีละน้อย ถ้าวิธีไหนยังไม่ถูกใจหรือเครียดเกินไป ลองหาวิธีดูไปเรื่อยๆ แล้วเราก็จะสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ สู้ๆ

Related Post

https://fms.co.th/

ซื้อสินค้า อุตสาหกรรมอย่างไรให้ได้สินค้าที่มั่นใจและมีคุณภาพซื้อสินค้า อุตสาหกรรมอย่างไรให้ได้สินค้าที่มั่นใจและมีคุณภาพ

                ปัจจุบันการเลือกซื้อสินค้านั้นง่ายขึ้น เนื่องจากมีโลกออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้โลกออนไลน์นั้นเป็นเหมือนพื้นที่ขายของด้วยไม่ต่างกัน และสำหรับช่าง หรือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม กำลังมองหาสินค้าหรือ อุปกรณ์ไปใช้ด้วยละก็วันนี้ลองเข้ามาเลือกซื้อได้ ใน “FMS เว็บซื้อสินค้าอันดับ 1 ของประเทศ ที่มีทุกอย่างครบครัน”                 FMS หรือ บริษัท ฟลูอิด แมคคานิค ซัพพลาย จำกัด เป็นบริษัทที่เข้ามาเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมคุณภาพสูง ด้วยอายุการดำเนินกว่า 30 ปี ทำให้คุณภาพสินค้านั้นมั่นใจได้เลยว่า สินค้าดี มีคุณภาพ และมั่นใจ

hat

การเรียนรู้พัฒนาความคิด ทฤษฎีหมวก 6 ใบการเรียนรู้พัฒนาความคิด ทฤษฎีหมวก 6 ใบ

 ความคิดที่เกิดเป็นทัศนคติ ย่อมเกิดจากสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในชีวิตที่เราพบเจอมาและความคิดต่างๆเหล่านี้ก็มีผลในด้านการพัฒนาตัวเองรวมไปถึงการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอีกทั้งยังมีผลต่อการคิดวิเคราะห์และการสรุปใจความได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กวัยเรียนการพัฒนาความคิดและทักษะทางด้านการคิดนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีหมวก 6 ใบซึ่งมีผลทำให้มนุษย์มีการคิดอย่างมีประสิทธิภาพมีความสร้างสรรค์และรอบด้านมากยิ่งขึ้นดังนั้นวันนี้เรามา ทำความรู้จักกับทฤษฎีหมวก 6 ใบ นี้กัน หมวกสีขาว   หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีความเป็นกลางต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลงานวิจัยหรือตัวเลขต่างๆเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นการคิดโดยใช้หมวกสีขาวจะต้องอาศัยข้อมูลเท็จจริงโดยปราศจากความรู้สึกและทัศนคติส่วนตัวรวมไปถึงความคิดเห็นต่างๆของผู้ร่วมประชุมหรือผู้ร่วมในทีมนั้น หมวกสีแดง   หมายถึงการแสดงออกตามอารมณ์รวมไปถึงสัญชาตญาณและความรู้สึกอีกทั้งยังมีลางสังหรณ์เป็นองค์ประกอบดังนั้นการคิดโดยการใช้หมวกสีแดงจึงเป็นการคิดโดยการใช้ความรู้สึกส่วนตัวรวมกับเรื่องดังกล่าวทั้งทัศนคติความชอบและความไม่ชอบต่อเรื่องนั้นโดยที่ไม่ต้องมีการคำนึงถึงเหตุผลใดๆทั้งสิ้น หมวกสีดำ   เป็นความคิดเชิงลบหมายถึงการบอกปฏิเสธและบอกถึงสิ่งที่ไม่เหมาะสมไม่ควรปฏิบัติตนไปถึงจุดด้อยอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้นการคิดโดยการสวมหมวกสีดำจึงทำหน้าที่เป็นเหมือนฝ่ายค้านที่จะคอยโต้แย้งว่าสิ่งใดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงสิ่งใดไม่ใช่เพื่อช่วยให้การทำงานหรือการเรียนและการปฏิบัติงานต่างๆนั้นไม่เกิดความสูญเปล่าหรือสูญเสียโดยไม่จำเป็น หมวกสีเหลือง   คือตัวแทนของการมองโลกในแง่ดีการสร้างโอกาสและการสร้างจุดเด่นมองเห็นแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ในเชิงบวกมีความกระหายใคร่รู้และการทำสิ่งต่างๆด้วยความสุขมีความหวังในการสร้างสรรค์ผลงานดังนั้นผู้ที่สวมหมวกสีเหลืองในการคิดจะต้องเป็นผู้ที่ต้องการข้อมูลและข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลในแง่ดี มีโอกาสที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดได้ หมวกสีเขียว   คือตัวแทนของความเจริญงอกงามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รวมไปถึงการคิดนอกกรอบผู้ที่ใช้หลักการคิดโดยสวมหมวกสีเขียวจะต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น หมวกสีน้ำเงิน   หมายถึงการควบคุมและการบริหารกระบวนการความคิดต่างๆเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นข้อสรุปความคิดรวบยอดสรุปยุติข้อขัดแย้งมองให้เห็นภาพรวมทั้งระบบดังนั้นการคิดโดยใช้หมวกสีน้ำเงินจึงเท่ากับว่าเราผ่านกระบวนการความคิดจากห่วงอีก 5 ใบมาแล้วเมื่อมาถึงจุดนี้จึงเป็น ส่วนสำคัญในการตัดสินใจเป็นบทบาทที่เทียบเท่ากับว่านี่คือบทบาทของหัวหน้าหรือผู้นำในการควบคุมการดำเนินการรวมไปถึงหาข้อสรุปผลเพื่อให้บรรลุในเป้าหมายที่ต้องการ